ฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพ
ฉันทลักษณ์ของโครงสี่สุภาพ
โครงสี่สุภาพ เป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกลองชนิดหนึ่งที่ปรากฏในวรรณคดีไทยมานานแล้ว โดยเฉพาะโคลงสี่สุภาพบทหนึ่งจากลิลิตพระลอได้ถูกยกมาเป็นโครงครูของการแต่งคำประพันธ์ประเภทโครงสี่สุภาพ
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤาพี่
สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ
ลักษณะบังคับ
1. คณะ 1 บท มี 4 บาท บาทหนึ่งมี 2 วรรค วรรค ต้นมี5 คำ วรรคหลังมี 2คำ ส่วนบทที่ 4 นั้น วรรคต้นมี 5คำ โคลง 1บท จึงมี 30คำ ท้ายบท 1 และ บาท3 ถ้าความไม่ครบ ย่อมไห้เติมสร้อยได้อีก 2 คำและคำทั้ง 30 คำนี้ จัดเป็น 3พวก คือ
คำสุภาพ คือ คำธรรมดา ไม่กำหนดเอกโท จะมีหรือไม่มีก็ได้ มี 19 คำ
คำเอก คือ คำที่บังคับไม้เอก หรือจะใช้คำตายแทน คำเอกก็ได้ มี 7คำ
คำโท คือ คำที่บังคับไห้มีไม้โท มี 4คำ
2. พยางค์หรือคำ ในการแต่งร้อยกรองเราถือว่าพยางค์ก็คือคำ ร้อยกรองแต่ละชนิดจะมีการกำหนดไว้แน่นอนว่า วรรคหนึ่งมีกี่พยางค์ ถ้าในโคลงมีคำกี่ออกเสียงพยางค์หนึ่ง ก็อนุโลมนับเป็นพยางค์เพียงหรือคำเดียวได้ เช่น “อักขระห้าวันหนี เนิ่นช้า”เป็นต้น
3. คำเอก-คำโท ใช้กับบทร้อยกรองประเภทโคลงและร่ายเท่านั้น มีข้อกำหนดดังนี้
คำเอก
1.คำหรือพยางค์มีไม้เอกบังคับทั้งหมด ไม่ว่าพยัญชนะต้นของคำนั้นหรือพยางค์นั้นจะเป็นอักษรกลาง อักษรสูง หรืออักษรต่ำ
2.คำหรือพยางค์เป็นคำตายทั้งหมด จะเป็นเสียงวรรณยุกต์ใดก็ได้
3.คำที่ไม่เคยใช้ไม้เอกเลย แต่นำมาแปลงโดยใช้เปลี่ยนพยัญชนะต้นและใช้วรรณยุกต์เอกบังคับ เช่น ไข้àไค่, ถ้ำàท่ำ
เช่นนี้ก็อนุโลมเสียงวรรณยุกต์ได้
คำโท
1.คำหรือพยางค์ที่ไม้โทบังคับทั้งหมด ไม่ว่าพยัญชนะต้นจะเป็นอักษรกลาง อักษรสูง หรือ อักษรต่ำ
2.คำที่ไม่เคยใช้โท แต่นำมาแปลงใช้โดยเปลี่ยนพยัญชนะต้นแลกวรรณยุกต์โท บังคับ เช่น คู่àขู้, ง่อยàหง้อย อนุโลมให้เป็นคำโทได้ แต่เรียกว่า โทโทษ
4.คำเอกโทษ-คำโทโทษ ที่ใช้แทนตำแหน่งเอกแลกตำแหน่งโท
เอกโทษ หมายถึง คำที่บังคับรูปวรรณยุกต์ตามลักษณะแผนผังบังคับของโคลงสี่สุภาพ
คำโทโทษ หมายถึง คำที่บังคับรูปวรรณยุกต์โทตามลักษณะแผนผังบังคับของโคลงสี่สุภาพ
5.คำตาย สามารถใช้แทนคำเอกได้ มีลักษณะดังนี้
1. เป็นคำที่ประสมด้วยเสียงสั้นในแม่ ก.กา เช่น กะ อุ และ เจาะ
2. เป็นคำสะกดในมาตราแม่ กก กบ กด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น